ความรู้ทั่วไป
การวินิจฉัยสาเหตุของอาการปวดบริเวณกระดูกสันหลังเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเนื่องจากความซับซ้อนของอาการที่เกิดได้จากหลายๆสาเหตุ ซึ่งการฉีดยาเพื่อการวินิจฉัย (diagnostic injection) จะเป็นแนวทางที่ดีการวินิจฉัยโรคเนื่องจากสามารถแยกโรคแต่ละโรคออกจากกันได้ด้วยการดูผลตอบสนองของการลดอาการปวดจากการฉีดยาในแต่ละวิธี (ถ้าผลตอบสนองต่อการฉีดบริเวณหนึ่งสามารถลดอาการปวดได้มากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ บริเวณนั้นก็น่าจะเป็นสาเหตุหลักของอาการปวด) เรารวมเรียกวิธีเหล่านี้ว่าเป็นกลุ่มการรักษา Interventional Spine Pain management ซึ่งได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป เนื่องจาก เป็นการรักษาที่ทําให้ได้การวินิจฉัยที่แน่นอน บางครั้งสามารถหลีกเลี่ยงการผ่าตัดได้จากยาชา และ อาจมีการผสมกลุ่มสเตียรอยด์ร่วมด้วยในบางครั้ง โรคจะทำการฉีดยาเพื่อวินิจฉัย ได้แก่
- กลุ่มอาการปวดจากข้อฟาเซต (facet syndrome) เป็นอาการปวดจากข้อต่อกระดูกสันหลังทางด้นหลัง(facet joint) เป็นสาเหตุของอาการปวดเรื้อรัง บริเวณ คอ หลัง และเอว และอาการปวดร้าวไปสะโพก หรือแขนขาได้ ไม่สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย หรือการดูภาพรังสีคลื่นแม่เหล็ก (MRI) อาจต้องวินิจฉัยจากการฉีดยาที่เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงข้อต่อ (median branch block) หากผู้ป่วยอาการดีขึ้นจาการฉีดยาวิธีนี้ก็จะได้รับการวินิจฉัยเป็นอาการปวดจากข้อฟาเซต (facet syndrome)
- กลุ่มอาการปวดจากข้อต่อเชิงกราน (Sacroiliac joint pain) เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดเอวและสะโพกเรื้อรังได้ และเป็นโรคที่พบว่ามีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วยได้บ่อยโดยเฉพาะบริเวณต้นขา การวินิจฉัยต้องอาศัยการฉีดยาเช่นเดียวกับกลุ่มอาการปวดจากข้อฟาเซต แต่การฉีดจะใช้วิธีการฉีดยาเข้าข้อ (Sacroiliac joint injection) โดยอาจจะผสมยาสเตียรอยด์ด้วยเพื่อให้ฤทธิแก้ปวดอยู่ได้นานขึ้น
- กลุ่มอาการปวดจากรากประสาทถูกกดทับ (nerve root compression) ผู้ป่วยจะมีอาการเด่นคือปวดร้าวตามแขนขาหรือสะโพก (Radicular pain) การวินิจฉัยจะทำโดยการฉีดยาโดยเลือกเฉพาะเส้นประสาทแต่ละเส้น(Selective Nerve Root Block) หรือเรียกอีกชื่อว่า Transforaminal Epidural Steroid Injection มีประโยชน์ทั้งในการรักษาอาการปวดและช่วยสนับสนุนการวินิจฉัย (รายละเอียดอยู่ในเอกสารเรื่องการฉีดยาระงับอาการปวดที่เส้นประสาท)
- อาการปวดจากหมอนรองกระดูก (DIscogenic pain) แม้ว่าจะเห็นพยาธิสภาพที่หมอนรองกระดูกแล้วก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าหมอนรองกระดูกสันหลังนั้นจะเป็นสาเหตุของอาการปวดหลังเรื้อรัง ดังนั้น การฉีดยาเข้าไปในหมอนรองกระดูกเพื่อกระตุ้น(Provocative) หรือ ระงับ(Anaesthetic)ก็สามารถช่วยรับรองการวินิจฉัยได้
การฉีดยาดังกล่าวเพื่อวินิจฉัยต้นเหตุของการปวด (define pain generator) ช่วยทําให้ศัลยแพทย์วินิจฉัยได้ถูกต้อง และ ทำการรักษาต่อไปได้อย่างถูกทาง
ผู้ป่วยที่ควรหลีกเลี่ยงการทําหัตถการนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยที มีการติดเชื้อในบริเวณกระดูกสันหลัง ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบอื่นๆของร่างกายที่รุนแรง ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ต่อยาและส่วนผสมของยาที่จะฉีด
ข้อควรระวัง ผู้ป่วยที่การแข็งตัวของเลือดผิดปกติหรือกินยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยที มีโรคผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยา
ความเสี่ยงและผลข้างเคียง มีความเสี่ยงน้อย
ความเสี่ยงทั่วไป ควรมีความเข้าใจถึงชั้นตอนในการรักษา ความจําเป็นในการที่ต้องเข้ารับการรักษา ธรรมชาติของโรคผู้ป่วยโรคที่เป็นอยู่ และธรรมชาติของการรักษาด้วยวิธีนี้ โดยปกติผู้ป่วยที่มีอาการปวดจากข้อฟาเซตหรือข้อต่อเชิงกรานจะมีอาการดีขึ้นทันทีหลังการฉีดยาประมาณ 5-10 นาที อย่าง ไรก็ตามอาการที่ดีขึ้นอาจมีระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงตามการออกฤทธิของยา จนถึง 1 เดือนในกรณีของการฉีดข้อฟาเซต ส่วนการฉีดข้อต่อเชิงกรานอาการที่ดีขึ้นหลังฉีดทันทีอาจจะดีขึ้นนานเป็นปีในผู้ป่วยบางราย
การติดเชื้อ เป็นโรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้ โดยเฉพาะการฉีดข้อจ่อเชิงกรานเพราะมีผู้กังวลกับการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณใดก็ตาม อาจทําให้การติดเชื้อลุกลาม อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า มีอัตราการติดเชื้อน้อยกว่า 1%
ความเสี่ยงเฉพาะ ความเสี่ยงเฉพาะจากการทําหัตถการนี้ มีไม่มากนัก และ พบได้ไม่บ่อย โดยมีความเสี่ยงภายใต้พื้นฐานการฉีดยาทั่วๆไป อย่างไรก็ ตาม มีความเสียงเฉพาะบางอย่างที อาจเกิดขึ้นได้ อาทิเช่น
- การเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทจากความคมของปลายเข็มทําให้เกิดอาการเจ็บร้าวลงปลายประสาทได้ อย่างไรก็ตามอาการนี้ มักจะหายไป เอง ในเวลาไม่นาน
- การรั่วของถุงน้ำบรรจุเส้นประสาท อาจเกิดขึ้นได้แต่พบได้น้อย
- ความดันโลหิตต่ำชั่วคราว อันเป็นผลข้างเคียงของยาชาที ซึมเข้าไปในเส้นเลือดรวดเร็วเกินไป
- หมดสติ หรือ ร่างกายกระตุก ประมาณ 1-2 นาที พบอุบัติการณ์นี้น้อยและมักถูกแก้ไขได้ และมักจะไม่มีอาการใดๆ หลงเหลือค้างอยู่แต่อย่างใด
- ผลข้างเคียงของยาสเตียรอยด์ อาจทำให้ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานอาจมีค่าน้ำตาลเพิ่มขึ้นได้ชั่วคราวระยะสั้นๆ หรือ อาจทําให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการหน้าบวม น้ำหนักตัวเพิ่ม มีสิวเกิดขึ้นที่ หน้าอกและตามตัวระยะสั้นๆ ได้ แต่มักไม่มีอาการถาวร
ความล้มเหลวในการฉีดยา หมายถึง การฉีดยาแล้วไม่หายปวด อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ เป็นโรคอื่น หรืออาจเกิดยาไม่เข้าถึงจุดที่ฉีด เป็นต้น
การปฏิบัติตัวก่อน/หลังการรักษา
ข้อแนะนำก่อนการทำหัตถการ พยาบาลจะเป็นผู้ติดต่อท่านก่อนวัดนัดทําหัตถการเพื่อแจ้งข้อมูล ยืนยัน วัน และ เวลานัดหมาย ในการทําหัตถการ
• รับประทานยาควบคุมความดันเลือด หรือ ยาโรคหัวใจต่างๆ ตามปกติในวันทําหัตถการ เพราะหากพบภาวะผิดปกติของ ความดันเลือด หรือสัญญาณชีพต่างๆ การทําหัตถการดังกล่าวอาจจําเป็นต้องถูกยกเลิก
• แนะนําให้มีญาติ หรือผู้ติดตามมาในวันทําหัตถการด้วย เพื่อช่วยดูแลท่านในการเดินทางกลับบ้าน
• เฉพาะผู้ป่วยที่ทํา MRI จากภายนอกโรงพยาบาลกรุงเทพ ต้องนํา MRI ดังกล่าวมาในวันผ่าตัด
• โปรดแจ้งพยาบาลให้ทราบ หากท่านมีอาการแพ้ยาใดๆ รวมถึงการแพ้สารทึบแสง แพ้อาหารทะเล สารที มีส่วนประกอบของ ไอโอดีน หรือสเตียรอยด์
• หากท่านอยู่ในภาวะที่มีโอกาสตั้งครรภ์หรือไม่มั่นใจว่ากําลังตั้งครรภ์หรือไม่ ท่านจําเป็นต้องแจ้งเรื่องนี้ให้พยาบาลทราบก่อนกําหนดวันทําหัตถการ เพราะรังสีเอกซ์เรย์อาจส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
• กรุณาแจ้งพยาบาลให้ทราบถึงประวัติอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นภายใน 3 เดือนที ผ่านมา ประวัติการเจ็บป่วยเหล่านี้ รวมถึง อาการที มีสาเหตุมาจากไข้ การหนาวสั่น หรือการเจ็บป่วยใดๆ ก็ตาม ที ส่งผลให้ท่านต้องรับประทานยาปฎิชีวนะ หรือต้อง นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
• ควรงดรับประทานยาแก้อักเสบ ประเภทไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen ) ซีลีเบรกซ์ (Celebrex) อาโคเซีย(Arcoxia) วิตามินอี ใบแปะก๊วย 7 วัน ก่อนการทํา หัตถการ หากท่านไม่แน่ใจ กรุณาโทรสอบถามก่อนวันทําหัตถการ
• ควรงดรับประทานยาละลายลิ่มเลือด พลาวิกซ์ (Plavix) แอสไพริน(aspirin) หรือยา คูมาดิน (Coumadin) 7 วันก่อนทำหัตถการ โดยต้องได้รับการอนุญาตจากแพทย์ที่จ่ายยาละลายลิ่มเลือดนั้นๆก่อนที่จะหยุดยา
• ในผู้ป่วยที เป็นชาวต่างประเทศ หากท่านมีความประสงค์จะใช้บริการล่ามในช่วงเวลาที ทําหัตถการ ท่านจําเป็นต้องแจ้ง ความจํานงขอบริการล่ามก่อนเวลาทําหัตถการ
• หัตถการนี้ ให้การรักษาได้ทั้งแบบ ผู้ป่วยนอก (OPD) และแบบผู้ป่วยใน (IPD) และไม่มีความจำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหาร ก่อนทําหัตถการ อย่างไรก็ตาม ในบางรายอาจมีความพิเศษ ให้ปฏิบัติตามที แพทย์แนะนําก่อนทําหัตถการ
• เมื่อถึงวันนัดทำหัตการ กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที แผนกเตรียมพร้อมการผ่าตัด (Pre-surgery) ก่อนการทําหัตถการอย่างน้อย 2 ช.ม. พยาบาลจะทําการซักประวัติผู้ป่วยตามรายการข้อแนะนําการปฏิบัติก่อนการผ่าตัด และบันทึกข้อมูลลงในเอกสาร • หลังจากนั้นแพทย์จะพบท่านเพื่ออธิบายถึงขั้นตอนการทําหัตถการ และตอบข้อซักถามต่างๆ รวมถึงทําสัญลักษณ์บนผิว หนัง (mark site) บริเวณตําแหน่งที่ จะทําหัตถการ
• ขั้นตอนในการทำหัตถการ ผู้ป่วยจะถูกนําเข้าห้องผ่าตัดปราศจากเชื้อ หลังจากทําการวัดสัญญาณชีพเรียบร้อยแล้ว พยาบาลจะทําการขานชื่อ และ รายละเอียดทีจะทําหัตถการให้แพทย์และ ผู้ป่วยได้ยิน (Time out)
• หลังจากนั้น พยาบาลจะแนะนําให้ทําการพลิกตัวคว่ำบนหมอน และ นําเครื่องเอกซ์เรย์เข้ามาตรวจสอบตําแหน่งที่จะทําการฉีดยา
•ผู้ป่วยจะได้รับการทําความสะอาดผิวหนัง และ ปูผ้าสะอาดปราศจากเชื้อ หลังจากนั้น แพทย์จะฉีดยาชาตรงผิวหนังบริเวณที่จะทําหัตถการ
•เมื่อเข็มฉีดยาเข้าสู่ตําแหน่งที่เหมาะสม ผู้ป่วยจะรู้สึกมีอาการปวดร้าวไปที่ตำแหน่งที่เคยปวดเป็นประจำ หากมีอาการปวดมาก ให้บอกแพทย์เพื่อฉีดยาชาให้อาการปวดลดลง
• อาจจะมีการฉีดสารทึบแสง ในระหว่างทำหัตถการ สารทึบแสงนี้ เป็นสารจําพวกไอโอดีนซึ่งไม่เป็น อันตรายต่อร่างกาย ยกเว้นหากผู้ป่วยแพ้อาหารทะเล หรือ แพ้สีที่ทําจากไอโอดีน
• แพทย์อาจทําการฉีดที่ตําแหน่งเดียว หรือ หลายตําแหน่งขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งไม่เหมือนกัน แพทย์จะ เป็นผู้อธิบายผู้ป่วยก่อนการฉีดยา
• เนื่องจากยามีส่วนผสมของยาชา ผู้ป่วยอาจจะมีอาการชาบริเวณขา หรือ แขน หลังการฉีดไปอีกประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง
• ขั้นตอนหลังการทำหัตถการ ท่านจะได้รับการสังเกตอาการหลังทําหัตถการในห้องพักฟืนประมาณ 1 ชั่วโมง
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยหลังออกจากโรงพยาบาล
- เมื่อได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน แพทย์จะนัดให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจติดตามอาการ ใน 7-14วันและหากไม่มีความผิดปกติ อื่น ๆ แพทย์ก็จะนัดครั้งต่อไป เพื่อติดตามอาการ
- หลังการทําหัตถการ เมื่อฤทธิ ยาชาหมดไป อาการของท่านอาจจะเท่าเดิม หรือ ดีขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ามีอาการ ปวดเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทําหัตถการได้ และอาจจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แล้วอาการปวดจะค่อยๆ ดีขึ้น
- ท่านต้องระมัดระวังเมื่อต้องลุกเดินครั้งแรกก่อนกลับบ้าน เพราะขาอาจมีภาวะอ่อนแรงอยู่เล็กน้อย ดังนั้นผู้ป่วยจึงจําเป็น ต้องได้รับการสังเกตอาการจนกระทั่งมั่นใจว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ ปลอดภัยแล้ว จึงจะได้รับอนุญาตให้ออกจากห้องพักฟื้นได้
- การประคบเย็นบริเวณที่ปวด ช่วยบรรเทาอาการได้ การประคบไม่ควรใช้เวลาเกิน 10 – 15 นาทต่อครั้ง
- ท่านอาจรับประทานยาพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวดได้ โดยเฉพาะภายใน 24–48 ชั่วโมงหลังการทําหัตถการ ยาที่ท่านรับประทานเป็นประจำให้ทานได้ปกติเมื่อกลับบ้าน
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาละลายลิ่มเลือด หรือ พลาวิกซ์ (Plavix) คูมาดิน (Coumadin) หรือ ผลิตภัณฑ์ที มีส่วนผสม ของแอสไพริน(aspirin) สามารถเริ่มรับประทานได้ตามปกติหลังการทําหัตถการ
- โปรดรับการติดตามอาการกับแพทย์เจ้าของไข้ตามกําหนดที่ ระบุไว้ในบัตรนัดหมาย หากพบอาการผิดปกติ เช่น เป็นไข้ หนาวสั่น อาการเจ็บปวดทวีความรุนแรงขึ้นมาก ท่านควรปรึกษาแพทย์ทันที
- หากอาการปวดของท่านกลับมาปรากฎอีกครั้งในเวลาต่อมา การจี้เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงข้อต่อด้วยคลื่นวิทยุ (radiofrequency nerve ablation) จะสามารถทำให้อาการปวดดีขึ้นได้เป็นเวลา 1-2 ปี
หากแพทย์เห็นว่าพยาธิสภาพเหมาะสมกับการผ่าตัด แพทย์จะเป็นผู้แนะนําต่อไป